เมนู

3. ขันธสูตร



ว่าด้วยอริยสัจ 4



[1678] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 เหล่านี้ อริยสัจ 4 เป็น
ไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทาอริยสัจ.
[1679] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ควรจะกล่าว
ได้ว่าอุปาทานขันธ์ 5 อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป
อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปา-
ทานขันธ์คือวิญญาณ นี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ.
[1680] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์
นั้น ๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้ เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.
[1681] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความดับด้วยการสำรอกโดย
ไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัย
ตัณหานั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.
[1682] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน อริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ 8 นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
[1683] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้น
แหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบขันธสูตรที่ 3

4. อายตนสูตร



ว่าด้วยอริยสัจ 4



[1684] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 เหล่านี้ อริยสัจ 4
เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
[1685] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ควรจะกล่าวว่า
อายตนะภายใน 6. อายตนะภายใน 6 เป็นไฉน คือ อายตนะคือตา ฯลฯ
อายตนะคือใจ นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ.
[1686] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์
นั้น ๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.
[1687] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความดับด้วยการสำรอกโดย
ไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ ความสละ. ความวาง ความปล่อย ความไม่
อาลัยตัณหานั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.
[1688] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน อริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ 8 นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
[1689] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 เหล่านี้แล เพราะเหตุ
นั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบอายตนสูตรที่ 4